1. อย่าฝืนเทรนด์ ถ้าระบบบอกให้หยุดเทรดคือหยุดเทรด อย่าคิดแม้แต่จะเข้าหุ้นปั่น
2. ช่วงหุ้นตกรุนแรงอย่าง Panic Sell ควรซื้อเฉพาะหุ้นพื้นฐานดีที่มั่นใจว่าไปต่อเท่านั้น ราคาจะถูกกว่าที่ควรจะเป็น แต่ถ้าหุ้นไก่กามันไปแล้วไปลับ รออีกนาน
3. แม้แต่ช่วงที่ SET กำลังขึ้น ก็ไม่ต้องรีบเข้า รอเข้าตอนเย็นก็ได้
4. ยึด indicator MACD กับ EMAV เป็นตัวตัดสิน ไม่ต้องสนใจอย่างอื่นมันจะสับสน
5. เล่นหุ้นไม่จำเป็นต้องเล่นหลากหลายตัว เล่นหุ้นตัวเดิมๆที่เราชิน และมีการเคลื่อนไหวเสมอจะง่ายกว่าเพราะจับทิศทางได้ถูก
6. เงินที่อยู่ในพอร์ตเราต้องคิดว่ามันเป็นเงินก้อนสุดท้ายในชีวิต เราจะเล่นแบบเซฟสุดๆ หลุดเป็นคัททันที
7. อย่าลืมกฏที่ว่ากำไรต้องคุ้มที่ขาดทุนไปเสมอ ดังนั้น เราต้องควบคุมขาดทุนให้ดี
8. อดีตของหุ้นตัวนั้นบอกอนาคตเราเสมอ
เทคนิคเล็กๆ
1. เรามักยอมให้พอร์ตติดลบแดงมากกว่าจะขายทิ้งไป แล้วคิดในใจว่ารอมันเด้งค่อยขาย สุดท้ายก็จะขาดทุนไปเรื่อยๆ
2. ถ้าเรายังทำตามคน 90% ที่ขาดทุน เราก็จะขาดทุน
3. ถ้าเราอ่านกราฟเป็น เขาก็อ่านกราฟเป็น เค้าจะทำราคาให้มันน่าตาม ให้แตะเบรก คนจะเฮโลกันเข้า แล้วก็หวังว่ามันจะไป ซึ่งมันไม่ใช่
4. หุ้นกับข่าวถ้ายิ่งไม่ไปด้วยกัน ยิ่งน่าสนใจว่าทำไม ถ้ามีข่าวร้ายหรือตลาดร่วงแต่ทำไมมันถึงไม่ร่วง
5. ถ้าเราคิดว่าได้เปรียบที่ราคานี้ มันไม่ใช่ จริงๆเรากำลังเสียเปรียบ เขาจะหลอกให้เราเข้าแล้วไปเล่นใต้ราคาที่เราซื้อ
6. การเคาะทุกครั้งมีความเสี่ยง ศึกษาให้ดีก่อนเข้า
7. ช่วงเวลาการขายหุ้นควรเป็นช่วงการพัก เพราะเราไม่รู้ว่าเราอ่านเกมถูกมั้ย
8. เราต้องกล้ารับแนวรับ ตอนที่เกิด Panic Stop loss จะสั้น
9. ถ้ามันแตะเบรกดูไปไม่รอดขายก่อนก็ได้
10. ถ้าซื้อแล้วไม่วิ่ง ก็ควรยอมขายคืนไป
11. เราจะ cut loss ด้วยความรู้แบบไหน เราไม่รู้ว่าเราจะคิดถูกมั้ย จง Cut loss เมื่อหลุดแนวรับ
ภารกิจหลักคือการรักษาเงินต้น ภารกิจรองคือหากำไร
ต้องมีวินัยกับตัวเองมากๆ ถึงเวลาขายต้องขายอย่าหลอกตัวเอง (อย่าโลภ) ถึงเวลาซื้ออย่ากลัวที่จะซื้อ(อย่ากลัว) โดยเฉลี่ยแล้ว ปีหนึ่งๆ เซ็ตไทยจะตกต่ำ 100-200-300 จุดให้เห็นๆ เสมอ ปีละประมาณ 2-3 ครั้งแทบทุกปี คุณรอจังหวะอย่างนี้ ตกหนักๆ
ต้องยอมรับในความผิดพลาดของตนเอง จึงจะแก้ไขให้ถูกต้องได้
คนเก่งไม่ใช่คนที่ตัดสินใจถูกทุกครั้ง หากแต่เป็นคนที่รู้จักแก้ไขได้เร็ว
(ซื้อแล้วไม่ขึ้นหยุดซื้อ ขายแล้วไม่ลงหยุดขาย ในทางกลับกันซื้อถูกเทรน ซื้อไปเหรื่อยๆ ขายถูก ต้องขายให้หมด always รักษาเงินต้น เงินสดดีที่สุด)
เวลามองถูกต้องปล่อยกำไรให้ยาว ๆ (แต่อย่าหลอกตัวเอง อย่าโลภ) แต่เวลามองผิด ต้องตัดขาดทุนโดยเร็ว
ใน 10 ครั้งถ้าขาดทุน 8 ครั้ง กำไร 2 ครั้ง ก็อาจไม่ขาดทุนได้
(เพราะ cut loss เร็ว เมื่อรู้ว่าผิดทาง และ let profit run เมื่อจับจังหวะใหญ่)
รายใหญ่อาศัยข่าวร้ายในการซื้อหุ้น และอาศัยข่าวดีในการขายหุ้น
(ต้องทำ volume ให้สูง จึงจะออกของตัวเองได้
โอกาสซื้อของถูก โดยปกติ Volume ต้องน้อยมาก ๆ )
เราต้องรู้จักการขายหุ้น คือ ตอนที่สถานการณ์อะไร ก็ดูดีไปหมด ไม่มีข่าวร้ายอะไร รอยู่ข้างหน้า
(จังหวะนี้ ถ้ามีข่าวลบนิดเดียว มันก็จะลงแล้ว)
หรือข่าวดีออกมาแล้ว ที่เหลือต้องรอไปลุ้นกันในอนาคต
เราจะขายหุ้นเมื่อเห็นว่า หุ้นตัวนั้นดีเกินไปแล้ว ข่าวที่คาดหวังออกมาแล้ว
ธุรกิจนั้น ดีมากเหลือเกิน แสดงว่า ราคาหุ้นตัวนั้น อยู่ในจุดที่สูงมากแล้ว หรือยอดดอยนั่นเอง แต่ทุกคนในตลาดไม่รู้หรอกว่าดอย เพราะอะไรๆของหุ้นตัวนั้น ก็ดูดีไปหมด ขายไปเถอะ จะรอให้ดีไปมากกว่านั้นอีกหรือ
ไม่เล่นหุ้นตอน Recession (เพราะไม่รู้ว่าหลุมลึกแค่ไหน)
ถ้าจะซื้อ ต้องเตรียมที่จะถือยาวมากๆ และต้องซื้อให้ถูกจริงๆ (แง่คิดข้อนี้ ทำยากมากๆ เพราะไม่รู้ว่า ถูกจริง ๆ นั้นอยู่ตรงไหน)
จงอย่าถือหุ้นเข้า recession แต่ให้ถือหุ้นออกมาจาก recession
แล้ว let profit run until the sign of another recession comes to shine.
The only time to buy is the time of maximum pressimism. (Templeton)
In contrast, the time to sell is when everything looks good.
เรียนรู้ยุทธศาสตร์ (Strategy) ระยะยาว และยุทธวิธี (Tactics) ระยะสั้น
รู้จักหุ้น Cash low return, but limited losses.
You don't know for sure what the market will do.
คนที่ฉลาดมากๆส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็นคนสุดท้ายที่จะประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น เพราะพวกเขามักรู้สึกว่า พวกเขาสามารถที่จะรู้ได้ว่า ตลาดจะเป็นอย่างไร! แต่โดยส่วนใหญ่ หรือโดยเฉลี่ยแล้ว…มันมักจะไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น ตลาดไม่อนุญาตให้คุณรู้ดีไปกว่ามันได้หรอก คุณต้องกลับมาตระหนักให้ดีว่า..คุณไม่สามารถไปบังคับอะไรมันได้ ดังนั้น คุณจึงควรกลับมาบังคับตัวคุณแทน
จิตวิทยาการลงทุน-เล่นหุ้น Trading Psychology – First Business TV (1)
จิตวิทยาการลงทุน-เล่นหุ้น Trading Psychology – First Business TV (Part:2)
จิตวิทยาการลงทุน ตอนที่ 1
“จิตวิทยาการลงทุน” (Video Clip) Trading Psychology (Part 2)
จิตวิทยาการลงทุนต่อกำไร-ขาดทุนที่เกิดขึ้น
No comments:
Post a Comment