Saturday 18 April 2015

Drawdown

หลังจากงมอยู่ตั้งนานก็ได้เข้าใจเสียทีว่าคำนี้จริงๆคืออะไร

“ระดับของการลดลงของเงินทุนจากจุดสูงสุด (Historical Peak) ที่เคยเกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลาในการลงทุน”
คือคำเรียกของเวบแมงเม่าคลับ
http://mangmaoclub.com/endurance/

แต่อ่านในเวบนี้น่าจะเข้าใจง่ายกว่า
http://www.thaiforexschool.com/viewfulldetial.php?id=173


Thursday 9 April 2015

ว่าด้วย Warrant

สารภาพตามตรงว่าก่อนหน้านี้ซื้อตัว warrant โดยไม่รู้อะไรเลยว่ามันคืออะไร วันนี้ติดดอยจริงจังเลยต้องหาข้อมูลในการคิดคำนวณมาเพื่อตัดสินใจสภาพการแปลงหุ้น

warrant คือใบสำคัญแสดงสิทธิ (ภาษาทางการที่อ่านแล้วงง) อธิบายง่ายๆคือหุ้นบริษัทต้องการเพิ่มจำนวนหุ้นเพื่อเพิ่มเงินทุน ก็เลยเพิ่มโดยใช้ warrant นี่แหละ ซึ่งเราเรียกหุ้นตัวใหญ่ว่าหุ้นแม่ แล้วแตกตัวออกมาเป็นหุ้นลูก (warrant) ชื่อจะมีห้อยติ่งตัว W1,2,3 อะไรก็ว่าไป

การซื้อขายหุ้นลูกก็เหมือนหุ้นปกติ แต่ที่จะไม่ปกติคือมันมีวันหมดอายุ ซึ่งจะต้องแปลงสภาพกลับไปเป็นหุ้นแม่และต้องเสียค่าแปลงหุ้นด้วย เสียค่าสิทธิ์การแปลงหุ้น (ราคาคิดหุ้นแม่ตัวละกี่บาท) ไม่งั้นหุ้นที่ถือไว้จะมีมูลค่าเป็น 0 เมื่อหมดอายุ

ประเด็นคือเวลาแปลงยังมีเรื่องอัตราส่วน หุ้นลูก : หุ้นแม่ ซึ่งแปลว่า 1 หุ้นลูกจะแปลงเป็นหุ้นแม่ได้เท่าไหร่ ปกติมักจะเป็น 1:1 (ไม่แน่เสมอไปต้องตรวจสอบให้ดี)

วิธีคิดแบบง่ายๆ
ยกตัวอย่างเช่น
หุ้น ABC มีอัตราการแปลงสิทธิ์ 1:2 (1 หุ้นลูกแปลงได้ 2 หุ้นแม่)
เสียค่าใช้สิทธิ์แปลงหุ้น 1 บาท
ราคาตลาดตอนนี้ หุ้นแม่ 3 บาท หุ้นลูก 1 บาท

แปลว่า เสียเงิน 3 บาท ได้หุ้นแม่ 2 ตัว (ค่าหุ้นลูก 1 บาท แปลงหุ้นแม่ตัวละ 1 บาท 2 ตัว รวมเป็น 3 บาท)
เท่ากับว่าเราได้กำไรหุ้นลูกละ 3 บาท (เพราะหุ้นแม่ได้มาฟรีๆ 1ตัว)

แต่นั่นเป็นการคำนวณ ณ ราคาตลาดปัจจุบัน เราต้องคำนวณดูราคาที่เราถือไว้ด้วยว่าเราซื้อต้นทุนมาราคาเท่าไหร่ เอาง่ายๆว่าได้กำไรหรือขาดทุนกันแน่ แล้วถ้าแปลงแล้วสภาพอนาคตของหุ้นแม่มันยังขึ้นได้อีกมั้ย คำนวณกันยาว

แต่ที่ต้องระวังคือพอหุ้นลูกแปลงสภาพเข้าตลาด อาจมี่ความเสี่ยงในการทุบราคาให้ถูกลงเพื่อเจ้ามือจะได้กว้านซื้ออีกก็เป็นได้ แต่ในทางกลับกันถ้าราคามันพุ่งสูงขึ้นตอนที่แปลงสภาพ ก็ได้กำไรเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

เทคนิคการดู warrant ไว้ศึกษาแล้วจะมาเขียนอีกที