Thursday 27 August 2015

Indicator (EMAV, MACD, RSI และ ADX), การตีเส้น Fibo

เส้นแนวโน้ม Trend Line


uptrend คือมี new high และจุดต่ำสุดไม่ใช่ new low กราฟมันจะไต่ระดับขึ้นไป กลับกัน downtrend คือมี new low และจุดสูงสุดไม่ใช่ new high กราฟมันไต่ระดับลงมา เราจะตีเส้นตรงเป็นตัววัดจุดสูงสุดหรือต่ำสุด เพื่อเป็นเส้นต้านและเส้นรับ และยังมีการใช้เส้นเฉียงยอดต่อยอดเพื่อเป็นเส้นต้านและรับได้อีกทาง
ดูวิธีการตีเส้นตามด้านล่าง




การที่เราจะเลือกเส้นตรงหรือเส้นเฉียงขึ้นอยู่กับว่าเรามีกราฟเก่ามาอ้างอิงมั้ย ส่วนใหญ่ถ้าเป็น sideway เราจะใช้เส้นตรง แต่ถ้าเป็นกราฟที่มีความลาดมากจะใช้เส้นเอียงหรือกราฟฟิโบนัคชีมาเป็นตัวช่วยประกอบ



http://www.sornhoon.com/d-support-resistance.aspx

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เราต้องดูก่อนว่ารอบของ RSI หรือ STO นั้นรอบมันคืออะไร โดยดูจากจุดสูงสุดลงมาจุดต่ำสุดของ 2 ตัวนนี้นั่นคือ 1 รอบแล้วก็หาลากเชื่อมจุด Fibo

http://stockmanday.blogspot.com/2012/09/fibonacci.html

http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2010/07/I9448851/I9448851.html

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Moving Average เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

การคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกัน เช่น ถ้าต้องการหาค่าเฉลี่ยระยะสั้น 10 วัน ราคาสำหรับ 10 วันสุดท้ายจะถูกนำมารวมกันแล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วัน แล้วหารผลทั้งหมดด้วย 10 เนื่องจากข้อมูลทั้งหมด (ในที่นี้คือ 10 วันสุดท้าย) จะถูกเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVE) ไปข้างหน้า จึงเรียกว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
ช่วงเวลาที่ใช้กันโดยทั่วไป
ปัจจุบันช่วงเวลาที่นิยมใช้ในการแบ่งกลุ่มของผู้ลงทุน คือ
10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
25 วัน (5 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
75 วัน (15 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
200 วัน (40 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว

ที่มาและดูภาพประกอบได้ที่
http://www.sornhoon.com/d-moving-average.aspx

การตัดสินใจจะซื้อหรือขาย เราจะดูหลายๆอย่างประกอบกันรวมถึง Indicator ด้วย เพื่อเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น โดยที่ใช้ทั่วไปคือ EMAV (15,30,50,100,200) , RSI, MACD, Volume

MAV (แต่เราจะเลือกใช้ ​EMAV เพราะมีค่าถ่วงเฉลี่ย) โดยหลักๆให้ดูเส้น 200 ในการประกอบตัดสินใจ ถ้ากราฟอยู่เหนือทุกเส้นของ EMAV คือน่าเล่น แต่ถ้าร่วงลงมาก็มีหลายสเต็ปให้คั่น เอาเส้นต้านรับมาประกอบอีกที

เจาะลึก indicator ยอดฮิต "Moving Average" (มีสูตรคำนวณ)



EMA 5   วันทำการ 5 วัน=1 อาทิตย์
EMA 15 วันทำการ 15 วัน = 3 อาทิตย์
EMA 25 = 5 อาทิตย์

เส้น EMA กับประโยชน์3ประการ


ข้อดีและข้อเสียของ SMAV และ EMAV


วิธีการเซ็ตค่าและการประยุกต์ใช้ Indicator EMAV vs SMAV


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

MACD (Moving Average Convergence / Divergence)

พัฒนาโดย Mr.Gerald Appel ในช่วงปลายยุค ’70 ที่สหรัฐอเมริกา
คือเส้นของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคา 2 เส้น สร้างขึ้นโดยใช้ความต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น โดยที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นหนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการคำนวณยาวกว่าเส้นค่าเฉลี่ยฯ อีกเส้นหนึ่ง แ โดยจะมีเส้นศูนย์เป็นแกนกลาง ถ้าขึ้นเหนือเส้น 0 แปลว่าเป็นช่วงขาขึ้น เหมาะกับการเข้าซื้อ ถ้าลงต่ำกว่า 0 แปลว่าเป็นสัญญาณขาลง เหมาะกับการขาย และยังมีเส้น signal line อีกเส้น ถ้าตัดกันก็นับเป็นจังหวะซื้อขายได้เหมือนกัน

ค่ามาตรฐานสำหรับ MACD อยู่ที่ 12,26,9 ผู้เทรดสามารถใช้ MACD เพื่อช่วยในการระบุพฤติกรรมของเทรนหรือราคาได้เช่น ราคากำลังเป็นเทรนด์ ราคากำลังชะลอตัวหรือสะสมแรง หรือ ราคากำลังจะกลับตัว MACD มีส่วนประกอบอยู่ 3 อย่างคือ
1. เส้น Moving Average
2.แท่ง Histogram
3.เส้น Zero Line

สูตรคำนวณ MACD 

MACD Line = EMA(12) – EMA(26)
Signal Line = EMA(9)
สามารถใช้ MACD ที่ระดับ 0 เป็นตัวบ่งบอก trend ได้เช่นกัน ถ้า MACD > 0 คือเป็นขาขึ้น, MACD < 0 เป็นขาลง
จากสูตรคำนวณแสดงให้เห็นว่า ถ้า EMA12 ตัด EMA26 นั่นหมายถึง MACD จะเท่ากับ 0 พอดี แต่ถ้า
EMA12 < EMA26 นั่นคือ MACD จะอยู่ต่ำกว่า 0 และถ้า
EMA12 > EMA26 MACD จะอยู่เหนือเส้น 0

หลักการวิเคราะห์

1.   ถ้า MACD > 0 หมายถึงเป็นแนวโน้มขาขึ้น 
2.   ถ้า MACD < 0 หมายถึงเป็นแนวโน้มขาลง
3.   ถ้า MACD > 0 และตัด Signal ลงมา หมายถึงราคาอาจพักฐานชั่วคราว 
4.   ถ้า MACD < 0 และตัด Signal ขึ้นไป หมายถึงราคาอาจจะขึ้น ชั่วคราว 
5.   ถ้า MACD ตัด 0 ขึ้นไป เป็นสัญญาณซื้อ 
6.   ถ้า MACD ตัด 0 ลงมา เป็นสัญญาณขาย


การใช้เครื่องมือ MACD เพียงอย่างเดียว มักจะทำให้ผู้ลงทุนไม่ได้กำไรสูงสุด ดังนั้น จึงควรนำหลักการของ DIVERGENCE มาประกอบการตัดสินใจ

การขัดแย้งกันของ MACD กับดัชนีราคา หรือเรียกว่า DIVERGENCE

DIVERGENCE คือ การขัดแย้งกันของ MACD กับราคาหุ้นมี 2 ลักษณะคือ
1. Bearish divergence จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวลงสวนทางกับการสูงขึ้นของดัชนีราคา เป็นการเตือนว่าราคาหุ้นอาจมีการปรับตัวลง
2. Bullish Divegence จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับการลดลงของดัชนีราคา เป็นการบอกว่าการลดลงของราคาหุ้นใกล้สิ้นสุด


ที่มาและดูภาพประกอบได้ที่

เจาะลึก indicator ยอดฮิต ตอนที่ 2 "MACD"


วิธีการใช้งาน MACD

ข้อดีข้อเสียของ MACD

MACD เครื่องมือชี้จุดซื้อบอกจุดขาย พร้อมผลทดสอบความแม่นยำ 20 ปี

http://fundmanagertalk.com/invesment-talk-macd/

การใช้ Histogram

“Signal Line และ MACD Histogram”


เหตุผลที่เลือกใช้ MACD เพราะเป็นการดูแนวโน้มที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนและมีการบอกสัญญาณซื้อขายได้ โดยอาจใช้การ backtest ในการดูข้อมูลโอกาสชนะย้อนหลังของหุ้นตัวนั้นๆได้ (แต่ก็ไม่แน่เสมอไปกับตลาดในปัจจุบัน)

การหาจุดซื้อขายด้วย Histogram (อันนี้อ่านเข้าใจง่ายมาก)
http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2010/12/I10033417/I10033417.html

เหตุผลที่เลือกใช้ MACD
 MACD สามารถบอกแนวโน้มได้ บอกการเกิด overbought, oversold และสามารถหาการเกิด divergenceขอยกให้ MACD เป็นราชาแห่ง indicator ที่ใช้ได้ดีกับทุกช่วงเวลา

ข้อเสียของ MACD
-  บางครั้งจะให้สัญญาณช้าไป
 -  ไม่เหมาะกับช่วงเกิด sideway
  - บางครั้งจะเกิดสัญญาณหลอกเกิดขึ้น ดังนั้นอย่าใช้ indicator นำการเข้าเทรด ซื้อขาย เด็ดขาด (สัญญาณหลอกมีเยอะ)
ที่มา

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

RSI Relative Strength Index

ผู้คิดค้น  J. Welles Wilder

RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) ซึ่ง RSI นี้จะวิ่งอยู่ระหว่าง 0 - 100 โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT หรือซื้อมากเกินไป มีโอกาศที่ราคาจะปรับตัวลงมา และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD หรือขายมากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นไป

วิธีใช้งาน RSI
1) ต่ำกว่าเส้น 30 คืออยู่ในเขต oversold เป็นช่วงแรงขายมากเกินไป ราคาอาจปรับตัวขึ้น แต่บางครั้งถ้าแนวโน้มยังคงเป็นขาลงที่แข็งแกร่งก็ยังไม่สามารถซื้อได้ถ้าแนวโน้มยังลงอยู่
2) เหนือกว่าเส้น 70 คืออยู่ในเขต overbought เป็นช่วงแรงซื้อมากเกินไป
แต่บางครั้งถ้าแนวโน้มยังคงเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่งก็ยังไม่สามารถขายได้ถ้าแนวโน้มยังขึ้นอยู่
3) จะใช้ RSI ดู Overbought, Oversold ได้ดีตอนเป็น sideway 
4) นิยมใช้ดูการทำ Divergence ของระดับราคาหุ้นกับค่า RSI ซึ่งมักจะเป็นช่วงสูงสุดหรือต่ำสุดของตลาด
(ความหมายของ Divergence คือ เมื่อระดับราคาทำจุดสูงสุดใหม่ แต่ RSI ไม่ได้ทำจุดสูงสุดตาม)


ที่มา http://www.sornhoon.com/d-rsi.aspx

เจาะลึก indicator ยอดฮิต ตอนที่ 4 "RSI"

http://www.investmentory.com/2013/07/indicator-4-rsi.html

ข้อเสียของ RSI
-ไม่เหมาะกับช่วง Sideway
-บางครั้งอาจเกิดสัญญาณหลอกขึ้น อย่าใช้ indicator นี้นำการเข้าซื้อโดยเด็ดขาด

ข้อเสียและการเกิด Divergence
http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2010/07/I9445096/I9445096.html


เหตุผลที่เลือกใช้ RSI
หลักการใช้ RSI โดยส่วนตัวใช้แค่ยืนยันสัญญาณจาก MACD และ MAV ไม่ได้เป็นตัวหลักในการตัดสินใจค่ะ
2 หน้านี้อาจจะตอบคำถามที่ว่าหุ้นทำ floor หลายๆครั้งแล้วดู RSI ได้หรือเปล่า คำตอบคือไม่น่าจะได้ค่ะ

ระวังกับดัก Overbought และ Oversold
http://pantip.com/topic/30763735


วิธีใช้งาน RSI ที่ไม่ถูกต้อง

http://www.aommoney.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99-3#gs.c084f9d2d411470b82a38c31bd3cae6d

--------------------------------------------------------------------------------------

Average Directional Index (ADX)

คิดค้นขึ้นโดย J. Well Wilder
Directional Movement เป็น Indicator ที่มีความแม่นยำสูงในการวิเคราะห์หุ้นระยะกลาง เป็นสัญญาณประเภทบอกแนวโน้มหรือประเภท trend following 

ADX จะมีอยู่ 3 เส้น ดังนี้คือ

1. เส้น ADX - เส้นนี้ถ้าชี้ขึ้นเรื่อยๆ จะบ่งบอกถึง trend ที่แข็งแกร่ง แต่จะเป็น trend ขึ้นหรือลงให้ดูที่ 2 เส้นถัดไปคือ DI+ หรือ DI-
2. เส้น DI+ ถ้าเส้นนี้อยู่สูงกว่า DI- แสดงว่าเป็นแนวโน้มขึ้น 
3. เส้น DI- ถ้าเส้นนี้อยู่สูงกว่า DI+ แสดงว่าเป็นแนวโน้มลง

สูตรคำนวณและข้อมูลเพิ่มเติม

ถ้า ADX < 20 หมายถึงแนวโน้มนั้นยังไม่แข็งแกร่ง อาจอยู่ในภาวะ sideway จนกว่าเมื่อ ADX > 20 ขึ้นไป แสดงว่าแนวโน้มนั้นแข็งแกร่งและจะดำเนินไปเรื่อยๆ จนกว่า ADX จะหักหัวลง 

ที่มาและดูภาพประกอบได้ที่

เจาะลึก indicator ยอดฮิต ตอนที่ 3 "ADX"


.เหตุผลที่เลือกใช้ ADX
ส่วนตัวจะใช้ ADX ในการเลือกหุ้นว่าควรเข้าหรือไม่ เป็นการดูเทรนด์ของหุ้นตัวนั้นเพราะการมองกราฟด้วยตาอย่างเดียวมันไม่พอ แต่นำ ADX มาเป็นการบอกจุดเข้าซื้อขายไม่ได้ค่ะ

ใช้ง่าย แม่นยำ เหมาะกับหุ้นระยะกลาง ต้อง ADX เท่านั้น (ข้อดีและข้อเสีย)

ข้อด้อยของ ADX



แถมท้ายเรื่อง CANSLIM มีหนังสือเล่มนี้อยู่เหมือนกัน (ยังอ่านไม่จบ หน้าปกใส่ไว้ให้แล้วในรูปค่ะ) แต่จะถูกพูดถึงบ่อยในเวบแมงเม่าคลับ

CANSLIM ต้องมีสักครั้งที่คุณจะรวยด้วยวิธีการคัดหุ้นแบบนี้

แนวทางการเทรด CANSLIM ในภาวะตลาดซบเซา
http://www.sarut-homesite.net/blog-53-canslim-choppy-case-study/


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถึงจะเป็นแบบนั้นก็มีอีกทฤษฎีที่ว่าไม่ควรดูกราฟด้วยตาเปล่า

แต่สุดท้ายยังไงก็ต้องมีระบบมารองรับ

เหตุผลที่ผม “เลิกดู” กราฟหุ้น (ด้วยตาเปล่า)


http://mangmaoclub.com/why-i-stop-reading-stock-chart/

Leading vs. Lagging Indicators

http://tradding2onlinemoney.blogspot.com/2013/08/leading-vs-lagging-indicators.html


efinancethai วิธีการ Export Data

http://youtu.be/P0JSTfI4dYs

No comments:

Post a Comment