Saturday, 29 August 2015

Average True Range (ATR)

ผู้คิดค้น : J. Welles

TR = True range คือ ค่าระยะความผันผวนสมบูรณ์ ค่าจะเป็นเลขจำนวนสมบูรณ์ ไม่มีค่าติดลบ )
การคำนวณค่า True Range สามารถหาได้จากค่าสูงสุดของค่าต่อไปนี้
-          ระยะห่างระหว่างค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของวันนี้
-          ระยะห่างระหว่างราคาปิดเมื่อวานกับค่าสูงสุดของวันนี้
-          ระยะห่างระหว่างราคาปิดเมื่อวานกับค่าต่ำสุดของวันนี้

ค่า Average True Range เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(โดยปกติจะใช้ 14 วัน) ของค่า True Range
ณ จุดต่ำสุดของตลาดที่ใกล้กับสภาวะ panic ค่า ATR จะมีค่าสูง โดยค่า ATR จะมีค่าต่ำเมื่อตลาดอยู่ในสภาวะ Sideway
ที่มา

เรียนรู้การเล่นหุ้นโดยใช้ AVERAGE TRUE RANGE

http://socialintegrated.com/stock-average-true-range

Average True Range (ATR) เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการวัดความผันผวนของตลาดนั้นๆ โดยทั่วไปมันจะเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ในรอบของมันที่ได้กาหนดเอาไว้เป็นความแตกต่างที่มากที่สุดของราคาสูงสุดของวันนี้และราคาต่าสุดของวันนี้ ราคาสูงสุดของวันนี้และราคาปิดเมื่อวานและราคาต่าสุดของวันนี้และราคาปิดเมื่อวาน ซึ่งถ้าค่ามันมีค่ามากก็จะทำให้ความผันผวนของหุ้นตัวนั้นมีความผันผวนมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนค่าที่น้อยค่าความผันผวนก็จะน้อยตาม สรุปคือ มันใช้ดูการแกว่งตัวของหุ้น ว่ามากหรือน้อย แต่ไม่ได้เอาไว้ใช้ดูเทรนด์
ที่มา
http://www.luihoon.com/2013/10/average-true-range-atr.html

ถ้ามีสัญญาณว่าราคาจะทะลุผ่านระดับแนวรับ/แนวต้าน ณ สภาวะความผันผวนต่ำ ค่าของ indicator ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าการเปลี่ยนแปลงราคาจะรุนแรงขึ้น เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า ทิศทางแนวโน้มของราคาได้รับแรงกระตุ้น และจะเกิดสัญญาณการทะลุของราคาโดยเห็นได้จาก price flow ที่เพิ่มมากขึ้น
ที่มา (มีสูตรการคำนวณและการอธิบาย)
https://www.instaforex.com/th/forex_indicators/atr.php

มันเป็น indicator ที่ดี ที่จะบอกได้ว่า ช่วงไหน จะมีการแกว่งของราคา มาก (Expanding)
หรือ น้อย (Contracting)
มันจำแตกต่างาก Bollinger bands เนื่องจาก ATR จะเฝ้าดู พิสัยของราคา สูง และต่ำ
ซึ่ง Bollinger bands จะคิดจาก Standard deviation ของแต่ละช่วงเวลา
ดังนั้น ATR จึงเป็น indicator ที่ดี ในการเฝ้าดู พฤติกรรมของราคา ในช่วงเวลาหนึ่งๆ

ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ถ้าความต่างของราคาระหว่างสูง และต่ำน้อย ก็จะทำให้ GAP ระหว่างราคานั้น แคบ
ความน่าสนใจในหุ้นตัวนั้นก็จะน้อย
ผมคิดว่า ในภาษาหุ้นของไทย ก็คือ หุ้นเน่านั่นเอง ไม่น่าเล่น
ในขณะที่ ถ้าความต่างของราคาสูง หุ้นตัวนั้น ก็จะมีความน่าสนใจ
เป็นที่ตื่นเต้นของนักเก็งกำไร
และการแกว่งของราคานี่เอง ตัว indicator ที่สามารถวัดได้คือ ATR

ที่มา
http://www.doohoon.com/smf/index.php?PHPSESSID=7fldmrjei8g5olkefvk9nldg80&topic=63233.0


Average True Range (ATR) Stop Loss : ตัดขาดทุนด้วยความผันผวน เป็นวิธีที่ใช้ความผันผวนของการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในการตั้งจุด Stop Loss โดย ATR Stop Loss = ราคาซื้อ – (ATR วันปัจจุบัน x 2) 
ที่มา (มีตัวอย่างประกอบ)
http://www.investmentory.com/2013/09/stop-loss.html

วิดีโอสอนเรื่อง ATR

Day Trading Tips For Beginners - Learn To Use ATR Indictor (ภาษาอังกฤษ)

https://www.youtube.com/watch?v=oI2yiyXkYjY


No comments:

Post a Comment